ข้อควรรู้ และ ปฏิบัติ ก่อนใช้กัญชาทางการแพทย์

ทุกวันนี้เราจะเห็นผลิตภัณฑ์​ที่มีส่วนผสมของกัญชาวางขายอย่างแพร่หลาย​ไม่​ว่าจะเป็นอาหาร​ เครื่องสำอางค์​ หรือผลิตภัณฑ์​ยา​ เพราะด้วยสรรพคุณ​ที่โดดเด่นของกัญชาที่มีฤทธิ์​ในการช่วยให้ผ่อนคลาย​ อารมณ์​ดี​ รวมไปถึงบรรเทา​อาการอักเสบ ช่วยระงับความเจ็บปวด​ กัญชาจึงกลายเป็นของใหม่มาแรงใน​ พ.ศ.นี้​อย่างปฏิเสธ​ไม่ได้​ แต่ทั้ง​นี้ทั้งนั้นการบริโภค​หรือใช้กัญชารักษาโรคยังคงมีข้อควรระวัง​เหมือนกับผลิตภัณฑ์​อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิด ปริมาณ​ ความเหมาะสม วิธีการผลิต รวมไปถึงวิธีการใช้งาน​ เพราะสารออกฤทธิ์ใน​กัญชามีปริมาณสูง และปริมาณของสารที่สูงจะส่งผลทำให้เกิดความมึนเมาได้​ ดังนั้น เราจึงควรใช้ในปริมาณตามที่ควบคุมไว้ หากใช้ไม่ถูกวิธีจากการใช้เพื่อเป็นยาในการรักษาก็อาจกลายเป็นยาให้โทษได้เช่นกัน

ใครบ้างที่ไม่ควรใช้กัญชา

ตามประกาศข้อกำหนด​สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ได้​ คือบุคคล​กลุ่มดังต่อไปนี้

  1. หญิงกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  2. ผู้มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
  3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคตับ, โรคไตที่รุนแรง
  4. ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  5. ผู้ป่วยโรคจิตเภท, โรคจิตจากสารเสพติด, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว
  6. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
  7. เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี​ เพราะหากเสพติดจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง

นอกจากนี้ทางศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี​ มหาวิทยา​ยาลัยมหิดล​ ยังได้เผยแพร่ข้อมูล​ 10 ข้อพึงระวังใช้ผลิตภัณฑ์ “กัญชา”​ เอาไว้ดังนี้

การใช้กัญชาทางการแพทย์

  1. ก่อนจะใช้กัญชาทางการแพทย์ควรศึกษาความ​เสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ​ตนเอง สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์ก่อน​ เพราะต้อง​ระวังการเกิดปฎิกิริยาร​ะหว่างยา​ประจำตัวกับกัญชาว่าจะส่งผลร้ายหรือไม่ 
  2. ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี อย่าใช้ช่อดอกกัญชาหรือสาร THC เนื่องจากมีโอกาส​เกิดปัญหา​ต่อพัฒนาการทางสมองในด้านทักษะต่างๆ​ โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์อย่างมี​เหตุ​ผล ​ซึ่งพบว่าหากมีการเสื่อมแล้ว แม้หยุดกัญชานานนับปีก็ไม่อาจคืนกลับเป็นปกติได้
  3. การเริ่มใช้กัญชาทางการแพทย์ควรเริ่มจาก THC ในปริมาณน้อยเพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดอาการ​หัวใจ​เต้น​ผิดจังหวะ 
  4. การสูบกัญชาแบบเผาไหม้ บารากุ หรือแบบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อ​ทาง​เดินหายใจและเยื่อบุได้ หากมีอาการควรหยุดสูบในทันที
  5. ผู้ที่จะทดลองสูบ กรูณาอย่าสูบเข้าไปลึกมาก และอย่าอัด กลั้นไว้ในปอด เพราะจะได้รับ​ปริมาณสารเข้าสู่ร่างกายเยอะ​ ทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ
  6. ควรสูบในที่ที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ เลี่ยงการสูบในที่มีเด็ก คนท้อง หรือผู้ป่วย​โรคระบบ​ทาง​เดินหายใจ
  7. หากมีสัญญาณของการติดกัญชา เช่น ใช้บ่อยขึ้น เยอะขึ้น ทำใจให้หยุดใช้ลำบากหรือคิดถึง​ การ​ใช้กัญชามากจนรบกวนการทำงาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมการใช้
  8. งดขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากการใช้​ผลิตภัณฑ์กัญชา
  1. การเลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ควรเลือกที่มีความน่าเชื่อถือ ระมัดระวังสารปนเปื้อน ควร​เลือกผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
  2. หากเกิดอาการแพ้หรือมีความผิดปกติจากผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมใส่กัญชา โดย​ผู้ขายไม่​ได้แจ้งให้ทราบก่อน ควรเก็บรายละเอียดช่องทางการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ที่เหลือ​รวมถึงหีบห่อ แล้ว​ติดต่อสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค หรือนำส่งที่โรงพยาบาลพร้อมกับ​ผู้​ป่วยโดยเร็วที่สุด

ยาหรือผลิตภัณฑ์ทุกชนิดล้วนให้คุณและให้โทษหากใช้ไม่ถูกวิธี​ กัญชาก็เช่นเดียว​กัน เพราะเมื่อเรานำเข้าสู่ร่างกาย​ เราควรต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ​ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์​กัญชาที่ได้มาตรฐาน​และน่าเชื่อถือ​ จึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องอยู่ในดุลยพินิจ​ของผู้เชี่ยวชาญ​ที่ผ่าน​การ​อบรมและมีใบอนุญาต​การใช้กัญชารักษาทางการแพทย์

หาก​คุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจกัญชาทางการแพทย์​เป็นทางเลือก​เพื่อสุขภาพ​
ปรึกษาทีมสุขภาพของ POW MED คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โทร. 082-859-9441
หรือแอดไลน์ @powmedclinic (มี @ ด้านหน้า)

อ้างอิงที่มา : 

เว็บไซต์กัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข    
https://www.medcannabis.go.th/contact

เว็บไซต์ไทยพีบีเอส 10 ข้อควรระวังใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
https://www.thaipbs.or.th/news/content/316392

บทความ เเละ สาระน่ารู้

ประโยชน์จากกัญชา และ กัญชง สู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์และส่งเสริมให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชเศรษ

อ่านต่อ »

นพ.สุชาติ​ เลาบริพัตร​ แพทย์​ผู้เชี่ยวชาญ​เวชศาสตร์​ป้องกัน​และเวชศาสตร์​ชะลอวัย

โลกสมัยใหม่คนอายุยืน​ขึ้น​ มีอายุขัยเฉลี่ยในปัจจุบัน​เกิน​ 80 ปี​ เพราะ​ระบบ​ต่างๆ​ ดีขึ้น​ ทั้งการร

อ่านต่อ »

กัญชารักษาเบาหวาน​ได้จริงหรือไม่ รู้คำตอบด้วยกันกับ พาวเมด

เป็นเบาหวานอย่าเบาใจ เพราะโรคเบาหวานมักจะพาเพื่อนอีกสารพัดโรคตามมาให้เราทำความรู้จักอีกมากมาย นั่นก็

อ่านต่อ »

นพ.ธนาเศรษฐ์​ พื้นชมภูจิรโชติ แพทย์ด้านการรักษาโรคด้วยกัญชา

นพ.ธนาเศรษฐ์ พื้นชมภูจิรโชติ หรือคุณหมอโทนี่ เป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ด้านการรักษาโรคด้วยกัญชา พ่วงด

อ่านต่อ »

ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรัตน์​ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์​ต่อมไร้ท่อ

หนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ร่วมก่อตั้ง POW MED ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรัตน์ โคมินทร์  แพทย์ผู้เชี่ยว

อ่านต่อ »