ศักยภาพของกัญชาทางการแพทย์​ในการรักษามะเร็ง

● ศักยภาพของกัญชาทางการแพทย์ในการรักษามะเร็ง 

ในปัจจุบัน มะเร็ง” ยังคงเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ จากรายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 เปิดเผยว่า จำนวนประชากรที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งมีจำนวนประชากรอยู่ที่ 19.3 ล้านราย โดยคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะ “เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า” และผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่นั้นอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำไปจนถึงปานกลาง ซึ่งประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และพบว่ามีอัตราการพบโรคมะเร็งสูงเช่นกัน

ในโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติของประเทศไทยเผยข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งในปี 2565 ว่า ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ราวกว่า 140,000 คน หรือประมาณ 400 คนต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมะเร็งที่พบมากที่สุดในกลุ่มคนไทย 5 อันดับแรกคือ

  1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
  2. มะเร็งปอด
  3. มะเร็งเต้านม
  4. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  5. มะเร็งปากมดลูก

ถึงแม้จะมีหลักฐานการค้นพบเซลล์มะเร็งมาเป็นล้านปีแล้ว แต่มนุษย์ก็คงยังค้นคว้า ศึกษาและวิจัยยาต่างๆ มากมาย เพื่อหาทางรักษาโรคมะเร็งให้หายขาด แต่ก็ยังคงศึกษาค้นคว้าวิจัยกันเรื่อยมา แต่ล่าสุดงานวิจัยที่ได้รับการรองรับจากทั่วโลกและยังคงวิจัยอยู่นั้นคือการใช้กัญชารักษามะเร็ง ทั้งนี้ยังได้ผลตอบลัพธ์ที่ดีจากผู้ป่วยมะเร็งเป็นอย่างมาก

เนื่องจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้จัดว่าเป็นยาที่ได้เข้าไปช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งรู้สึกบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งทำให้ในทางการแพทย์เริ่มนำกัญชารักษามะเร็งเข้ามามีบทบาทในการรักษามะเร็งอย่างต่อเนื่อง แล้วยังถูกนำมาวิจัยเพื่อหาทางรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีการทดลองและงานวิจัยเพื่อหาทางรักษาโรคมะเร็งด้วย กัญชาทางการแพทย์ แต่ทั้งหมดนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งพอที่จะสรุปประโยชน์ของการใช้กัญชารักษามะเร็งได้ดังนี้

ลดอาการปวดเรื้อรัง

กัญชาถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางยามากที่สุดเพื่อเป็นยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาปวด (Analgesic or Pain Reliever) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดที่รุนแรง สำหรับกัญชาทางการแพทย์ประกอบไปด้วยสารประกอบแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ CBD และ THC ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวลดอาการปวดตามธรรมชาติ

สารประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้ดีเพื่อบรรเทาอาการปวดได้อย่างไม่น่าเชื่อแม้แต่กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาท

ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด

กัญชาทางการแพทย์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ และป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยอาเจียน ไม่ว่าอาการนี้จะเป็นผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด หรือจากอาการของโรคเอง

เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง

โรคมะเร็งอาจนำผู้ป่วยไปสู่ภาวะผอมจนหนังหุ้มกระดูก (Cachexia) หรือผอมแห้งเรื้อรัง หากปล่อยอาการเบื่ออาหารทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยทานอาหารได้ยากมากยิ่งขึ้น การใช้กัญชาทางการเเพทย์ จึงช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยได้ โดยปกติกัญชาสายพันธุ์อินดิกา (Indica) ที่มีค่าของสาร THC สูงจะดีที่สุดในการรักษาอาการเบื่ออาหารนี้

ลดภาวะซึมเศร้าจากมะเร็ง

ผู้ป่วยมักจะต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าอันเนื่องมาจากลักษณะของโรคมะเร็ง การเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรุนแรงยังเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด การใช้กัญชาทางการเเพทย์ ก็ช่วยทำให้ทัศนคติของผู้ป่วยดีขึ้นและช่วยส่งเสริมอารมณ์ รวมไปถึงความมีชีวิตชีวา น้ำมันที่มีกลิ่นหอมแรง หรือน้ำมันหอมระเหย Terpene – Limonene เป็นที่รู้จักในเรื่องช่วยภาวะซึมเศร้าให้ดีขึ้น

ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อนที่ดีและรู้สึกสดชื่นเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะต้องการนอนหลับฝันดีหรือตื่นนอนตลอดทั้งวัน การใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยได้ การใช้กัญชาในทางการแพทย์มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ หากผู้ป่วยต้องการที่จะลองใช้กัญชารักษามะเร็งเพื่อบรรเทารักษาอาการของโรคมะเร็ง ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสมกับอาการ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจกัญชาทางการแพทย์เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพ
ปรึกษาทีมสุขภาพของ POW MED คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โทร. 082-859-9441
หรือแอดไลน์ @powmedclinic (มี @ ด้านหน้า)

อ้างอิงที่มา : 

เว็บไซต์ The standard WHO เผยยอดผู้ป่วยมะเร็ง

https://thestandard.co/who-unveil-cancer-rate-2020/

เว็บไซต์ inn ที่มาวันมะเร็งโลกและประวัติศาสตร์ของมะเร็ง

https://www.innnews.co.th/lifestyle/news_35880/

เว็บไซต์ กระทรวงสาธารณะสุข กัญชากับมะเร็ง

https://www.medcannabis.go.th/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8

%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B

8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87

Marijuana Doctors

Medical content reviewed by: Dr. Joseph Rosado, MD, M.B.A, Chief Medical Officer

Updated on August 28, 2018.

https://www.marijuanadoctors.com/resources/ailment-resources/best-cannabis-

strains-for-cancer-patients/

https://www.marijuanabreak.com/best-marijuana-strains-cance

บทความ เเละ สาระน่ารู้

ประโยชน์จากกัญชา และ กัญชง สู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์และส่งเสริมให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชเศรษ

อ่านต่อ »

นพ.สุชาติ​ เลาบริพัตร​ แพทย์​ผู้เชี่ยวชาญ​เวชศาสตร์​ป้องกัน​และเวชศาสตร์​ชะลอวัย

โลกสมัยใหม่คนอายุยืน​ขึ้น​ มีอายุขัยเฉลี่ยในปัจจุบัน​เกิน​ 80 ปี​ เพราะ​ระบบ​ต่างๆ​ ดีขึ้น​ ทั้งการร

อ่านต่อ »

กัญชารักษาเบาหวาน​ได้จริงหรือไม่ รู้คำตอบด้วยกันกับ พาวเมด

เป็นเบาหวานอย่าเบาใจ เพราะโรคเบาหวานมักจะพาเพื่อนอีกสารพัดโรคตามมาให้เราทำความรู้จักอีกมากมาย นั่นก็

อ่านต่อ »

นพ.ธนาเศรษฐ์​ พื้นชมภูจิรโชติ แพทย์ด้านการรักษาโรคด้วยกัญชา

นพ.ธนาเศรษฐ์ พื้นชมภูจิรโชติ หรือคุณหมอโทนี่ เป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ด้านการรักษาโรคด้วยกัญชา พ่วงด

อ่านต่อ »

ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรัตน์​ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์​ต่อมไร้ท่อ

หนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ร่วมก่อตั้ง POW MED ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรัตน์ โคมินทร์  แพทย์ผู้เชี่ยว

อ่านต่อ »